วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554


หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คือ ระบบที่จะนำพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนหลักๆ 4 ส่วนคือ เตาปฏิกรณ์ ระบบระบายความร้อน ระบบกำเนิดกระแสไฟฟ้า และระบบความปลอดภัยพลังงานที่เกิดขึ้นในเตาปกรณ์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น สิ่งที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น ไม่ได้มีเพียงพลังงานจำนวนมากที่ปลดปล่อยออกมา แต่รวมถึงผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น นิวตรอนอิสระจำนวนหนึ่ง การควบคุมจำนวนและการเคลื่อนที่ของนิวตรอนอิสระภายในเตาปฏิกรณ์โดยสารหน่วงนิวตรอน และแท่งควบคุมจะเป็นการกำหนดว่า จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นขึ้นภายในเตาปฏิกรณ์มากน้อยเพียงใดพลังงานที่ผลิตเกิดขึ้นภายในเตาปฏิกรณ์ จะถูกนำออกมาโดยตัวนำความร้อน ซึ่งก็คือของไหลเช่นน้ำ,เกลือหลอมละลายหรือก๊าซคาร์บอนไดอออกไซต์ ของไหลจะรับความร้อนจากภายในเตาปฏิกรณ์ จนตัวมันเองเดือดเป็นไอหรือเป็นตัวกลางในการนำความร้อนไปยังวงจรถัดไปเพื่อผลิตไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จะถูกส่งผ่านท่อไปยังระบบกำเนิดกระแสไฟฟ้า ที่ไอน้ำจะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำที่จะใช้ในการหมุนเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าต่อไป



 

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

คลิปคอนเสิตรน์

โครงสร้างและหลักการทำงานของถ่านไฟฉาย

          


                                                   

            เมื่อต่อถ่านไฟฉายเข้ากับวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวก (แท่งคาร์บอน) ของ ถ่านไฟฉาย ผ่านวงจรไฟฟ้าแล้วกลับมายังขั้วลบ (กล่องสังกะสี) โดยมีแอมโมเนียมคลอไรด์ทำหน้าที่ เป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์ 1 ซึ่งช่วยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ มีผงถ่านช่วยนำไฟฟ้า และแมงกานีสไดออกไซด์ช่วยทำให้ความต่างศักย์ของเซลล์คงตัว แต่เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ ความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์จะค่อยๆ ลดลงจนไม่มีความต่างศักย์หรือมีศักย์ไฟฟ้าเท่ากันในที่สุด จึงทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลและใช้ต่อไปอีกไม่ได้ หรือที่เราเรียกว่าถ่านหมดนั่นเอง จากที่ผ่านมาจะเห็นว่าถ่านไฟฉายสามารถเปลี่ยนพลังงานเคมีที่สะสมอยู่ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าออกมาได้

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554